เมนู

ธรรมชาติที่หยาบ. คำว่า กกฺขฬติตํ (ความแข็ง) ได้แก่ ภาวะที่แข็ง.
คำว่า กกฺขฬภาโว (ภาวะที่แข็ง) ได้แก่ สภาวะที่แข็ง.
คำว่า อชฺฌตฺตํ อุปาทินฺนํ (อุปาทินนรูปที่เป็นภายใน) ได้แก่
อุปาทินนรูป กล่าวคือ รูปภายในเกิดในตน รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ ชื่อว่า
อุปาทินนะ จริงอยู่ รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระจะมีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม หรือไม่มี
กรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม ทรงหมายเอารูปที่ตั้งอยู่ในสรีระอันเป็นอุปาทินนะ
บ้าง เป็นอนุปาทินนะบ้างนั้น. แต่เพื่อทรงแสดงว่า รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นอุปาทินนรูป ด้วยอำนาจแห่งรูปที่มีใจครองซึ่งถูก
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือไว้แล้วนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺตํ อุปาทินฺนํ
เป็นต้น.

นิเทศปฐวีธาตุภายใน


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงปฐวีธาตุนั้นนั่นแหละ
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ จึงตรัสคำว่า เสยฺยถีทํ เกสา โลมา ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต. คำว่า เสยฺยถีทํ
นั้น มีอธิบายว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน ? หรือว่ารูปที่อยู่ภายในเป็น
ของเฉพาะตน ชื่อว่า เป็นธรรมชาติแข็งนั้น เป็นไฉน ?
คำว่า เกสา โลมา เป็นต้น เป็นคำแสดงประเภทแห่งปฐวีธาตุที่
เป็นภายในนั้นด้วยอำนาจที่เป็นวัตถุ มีคำอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เกสา
(ผมทั้งหลาย) อยู่ภายในเป็นอุปาทินนรูป เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ มีความแข็ง
เป็นลักษณะ เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้. ชื่อว่า โลมา
(ขนทั้งหลาย) ฯลฯ ชื่อว่า กรีสะ (อาหารเก่า). มัตถลุงคัง (มันสมอง)

แม้มิได้ตรัสไว้ในธาตุวิภังค์นี้ แต่ท่านก็ยกขึ้นสู่บาลีในปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า
มัตถลุงคัง ที่นำมาแล้วเป็นของภายใน เป็นอุปาทินนรูป ตั้งอยู่ในสรีระ
มีความแข็งเป็นลักษณะ เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้. แม้ในน้ำดี
เป็นต้นในนิเทศแห่งอาโปธาตุเป็นต้นข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ด้วยคำว่า เสยฺยถีทํ เกสา เป็นต้นนี้ ทรงแสดงอะไร.
ตอบว่า มนสิการธาตุ.
ถามว่า ก็กุลบุตรผู้ปรารถนาจะทำกรรมในมนสิการธาตุนี้แล้วเริ่ม
วิปัสสนาเพื่อบรรลุพระอรหัตอันเป็นประโยชน์สูงสุด จะพึงทำอย่างไร.
ตอบว่า พึงชำระปาริสุทธิศีล 4 ให้บริสุทธิ์. เพราะว่าการเจริญ
กรรมฐานย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีล วิธีทำการชำระจตุปาริสุทธิศีลนั้น พึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ. ก็กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ตั้งอยู่
ในศีลแล้วพึงตัดปลิโพธ (ความกังวลใจ) เบื้องต้น 10 อย่าง วิธีการตัด
ปลิโพ 10 อย่างแม้เหล่านั้น ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น
แหละ อันกุลบุตรผู้ตัดปลิโพธแล้วพึงเรียนเอากรรมฐานมนสิการธาตุ แม้
อาจารย์ผู้ให้อันเตวาสิกเรียนกรรมฐานมนสิการธาตุ ก็พึงบอกอุคคหโกศล 71
อย่าง และมนสิการโกศล2 10 อย่าง แม้อันเตวาสิกก็ควรทำการสาธยายใน
สำนักแห่งอาจารย์ให้มากแล้ว ทำกรรมฐานให้คล่องแคล่วหมดความยุ่งยาก.
ข้อนี้สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ภิกษุผู้แรกเริ่มกรรมฐานเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะพ้นจากชราและมรณะพึงปรารถนาอุคคหโกศลโดยอาการ 7 อย่าง พึง
ปรารถนามนสิการโกศลโดยอาการ 10 อย่าง.
1. ผู้ฉลาดในการเรียน 7 อย่าง.
2. ผู้ฉลาดในการมนสิการ 10 อย่าง.

ว่าด้วยอุคคหโกศล 7 อย่าง


บรรดาอุคคหโกศล และมนสิการโกศลเหล่านั้น กุลบุตรพึงปรารถนา
อุคคหโกศลในกรรมฐานมนสิการธาตุเหล่านั้น คือ
โดยวาจา 1
โดยใจ 1
โดยสี 1
โดยสัณฐาน 1
โดยทิศ 1
โดยโอกาส 1
โดยปริเฉท 1


ว่าด้วยมนสิการโกศลมี 10 อย่าง


กุลบุตรพึงปรารถนามนสิการโกศลโดยอาการ 10 อย่างเหล่านี้ คือ
โดยลำดับ 1
โดยไม่เร็วเกินไป 1
โดยไม่ช้าเกินไป 1
โดยห้ามความฟุ้งซ่าน 1
โดยก้าวล่วงบัญญัติ 1
โดยละลำดับ 1
โดยลักษณะ 1
โดยสูตรทั้ง 3.*

* อธิจิตตสูตร สิติภาวสูตร โพชฌงคโกสัลลสตร.